cover_1

ครัวรักษ์อาหาร เสริมภูมิต้านทานชุมชนและกลุ่มเปราะบางสู้วิกฤติโควิด-19 (เฟส 2)

เงินบริจาคของคุณจะนำไปเป็นค่าประกอบอาหารในครัวรักษ์อาหารให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-1910,000คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

2 ก.ค. 2564 - 31 ต.ค. 2564

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYZERO HUNGERREDUCED INEQUALITIES

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ชุมชน/หมู่บ้าน
4แห่ง

ครัวรักษ์อาหาร เป็นครัวชุมชนเพื่อชุมชนที่มูลนิธิฯส่งต่อวัตถุดิบอาหารส่วนเกินจากระบบตลาด แต่ยังมีคุณภาพดีให้ชุมชนนำมาปรุงสุกและแจกจ่ายให้กับคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19

ชุมชนส่วนมากประกอบไปด้วยผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ แม่และเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและได้รับความลำบากในการดำรงชีวิต ชุมชนเหล่านี้มีพื้นที่อยูในจังหวัดกรุงเทพฯ จำนวน 4 ชุมชน มีประชากรผู้ได้รับผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น 10,000 คน แต่ละคนจะได้รับการสนับสนุนอาหารอย่างน้อย 1 มื้อต่อเดือนตลอดการดำเนินงานของโครงการ

ปัญหาสังคม

ความขาดแคลนอาหารช่วงวิกฤตโควิด-19 และปัญหาขยะอาหาร สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดระลอก 3 ที่ทำให้เกิดคลัสเตอร์ในพื้นที่ต่างๆช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้เกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อกลุ่มชุมชนเปราะบางหรือรายได้น้อย ที่ต้องกักตัวเนื่องจากสภาวะการระบาดในแต่ละรอบ และอยู่ในสถานะที่ยังไม่สามารถหารายได้เลี้ยงชีพและครอบครัวตามปกติได้ กลุ่มคนเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงต่อความขาดแคลนอาหารอันเนื่องมาจากการขาดรายได้เลี้ยงชีพและครอบครัว ในอีกทางหนึ่งเราพบว่าร้อยละ 64 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยต่อปีนั้นคือขยะอาหาร ซึ่งในจำนวนนั้นประกอบไปด้วยอาหารส่วนเกินจำนวนมากที่ภาคธุรกิจไม่สามารถขายได้แล้วถูกทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย และกลายเป็นขยะอาหารที่ก่อให้เกิดมลพิษ ทั้งที่จริงแล้วอาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่มีคุณภาพดีและสามารถบริโภคได้ เพียงแต่เป็นปริมาณส่วนเกินในระบบตลาดเท่านั้น ในขณะเดียวกันยังมีประชาชนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามาถเข้าถึงอาหารคุณภาพดีเหล่านี้ได้ เนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยประชาชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้เปราะบางที่กล่าวไปข้างต้น

วิธีการแก้ปัญหา

  1. โครงการครัวรักษ์อาหาร เป็นหนึ่งในโครงการของทางมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ ที่ให้อาสาสมัครจากชุมชน และอาสาสมัครภายนอก มาร่วมกันปรุงอาหารจากอาหารส่วนเกินที่ได้รับบริจาคมาให้เป็นเมนูอาหารใหม่ที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และถูกหลักอนามัย เพื่อส่งต่อให้กับคนในชุมชนที่ขาดแคลนอาหารตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกแรกในประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์ เพื่อประยุกต์ใช้อาหารส่วนเกินทุกชนิด ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของอาสาสมัคร ให้เป็นเมนูอาหารที่ชุมชนคุ้นเคย โดยนอกจากคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมแล้ว ทางมูลนิธิฯ ยังคำนึงถึงรสชาติเพื่อเพิ่มความสุขให้กลุ่มผู้ที่ได้รับอาหารอีกด้วย ที่ผ่านมาครัวรักษ์อาหารได้ให้ความช่วยเหลือผู้เปราะบางในชุมชนต่างๆ ไปแล้วกว่า 35 ชุมชนในจ. กรุงเทพฯ ซึ่งครอบคลุมประชากรจำนวน 42,157 คน ด้วยปริมาณมื้ออาหารจำนวนเกือบ 1 ล้านมื้อ เพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบางเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง พร้อมลดปัญหาขยะอาหารจากอาหารส่วนเกิน โครงการครัวรักษ์อาหารของมูลินิธิฯ จึงเกิดขึ้น โดยการสร้างระบบการถ่ายโอนอาหารส่วนเกินซึ่งก็คือ “อาหารส่วนที่เกินจากความต้องการของตลาด” ไปยังกลุ่มผู้เปราะบางต่างๆ พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมของคนชุมชน ผ่านการวางแผนระบบการขนส่งอาหารจากกลุ่มผู้บริจาคซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตอาหารในระบบตลาดไปยังครัวชุมชนที่ตั้งอยู่ภายใน 6 ชุมชนรอบจังหวัดกรุงเทพฯ จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดภูเก็ตเพื่อนำไปประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และท้ายที่สุดนำส่งมอบให้กับกลุ่มผู้รับอาหารในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคมที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ดีได้เท่าที่ควร

แผนการดำเนินงาน

  1. ระบบการทำงานของมูลนิธิในทุกๆวันโดยปกติแล้วจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ระบบจัดการผู้รับบริจาคอาหาร หรือชุมชนผู้รับ ระบบการรับบริจาคอาหารส่วนเกินดังภาพข้างต้น ในส่วนของโครงการครัวรักษ์อาหารนั้นเป็นโครงการส่วนขยายจากระบบการทำงานข้างต้นโดยจะเป็นส่วนที่อยู่ก่อนการบริจาคอาหารให้แก่ชุมชนโดยตรง ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง

  2. ครัวรักษ์อาหารดูแลกลุ่มเปราะบางในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 และต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ใน 4 พื้นที่ ภายในจังหวัดกรุงเทพมหานคร (และปริมณฑล) รวมประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือทั้งหมด 10,000 คน ต่อเดือน คนในชุมชมเหล่านี้ บางส่วนนอกจากจะมีรายได้น้อยแล้ว ยังมีผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ แม่และเด็ก ผู้ที่ไม่มีงานทำซึ่งส่วนหนึ่งประกอบอาชีพด้านการบริการ เช่นพนักงานโรงแรม ร้านนวด และพนักงานรับจ้างทั่วไป หรือถึงแม้ว่าคนบางกลุ่มจะยังมีงานทำแต่ก็ถูกลดเงินเดือนลงไปมากกว่าครึ่งหนึ่งของเงินเดือนปกติ

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
การประกอบอาหารในครัวรักษ์อาหารจำนวนเดือนละ 30,000 มื้อ จำนวน 3 เดือน รวมเป็น 120,000 มื้อ (ต้นทุน 6 บาทต่อมื้อ)

120,000มื้อ720,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด720,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)72,000.00
ยอดระดมทุน
792,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาขยะอาหารและสร้างความเทียมในการเข้าถึงอาหารภายในประเทศไทย โดยการใช้ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพเข้าไปรับอาหารส่วนเกิน (Surplus Food) อาหารไม่สามารถนำไปจำหน่ายได้แล้ว เช่นอาหารหน้าตาไม่สวย หรือใกล้ถึงวันควรบริโภค จากซูเปอร์มาร์เก็ต โรงแรม ร้านอาหาร หรือโรงงานผลิตอาหาร เพื่อนำไปส่งต่อให้กับชุมชนรายได้น้อยซึ่ง ซึ่งมีข้อจำกัดในการได้รับอาหารที่ดีและเพียงพอในแต่ละวันตั้งแต่ปี 2017 ถึงปัจจุบัน เราส่งต่อมื้ออาหารมากกว่า 34.9 ล้านมื้อ (เทียบเท่ากับอาหารส่วนเกินที่ได้รับการช่วยเหลือ 8.31 ล้านกิโลกรัม) ช่วยเหลือชุมชนมากกว่า 3,600 แห่ง และมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 21 ล้านกิโกกรับคาร์บอน

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon