cover_1

ครัวรักษ์อาหาร เพื่อช่วยเหลือชุมชน ทั้ง 3 ภูมิภาคในประเทศไทย

เงินบริจาคของคุณจะนำวัตถุดิบอาหารส่วนเกินจากระบบตลาดมาปรุงสุกใหม่เพื่อแจกจ่ายให้กับกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบระยะยาวจากโควิด-19 กลุ่มผู้เปราะบาง ชุมชนรายได้ต่ำ ฯลฯ150ชุมชน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
20 เม.ย. 2566

อัปเดตโครงการส่งต่อมื้ออาหารให้แก่ชุมชนทั้ง 3 ภูมิภาค จำนวน 12,117 มื้อ

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

20 เม.ย. 2566 - 20 เม.ย. 2566

ครัวรักษ์อาหาร เพื่อช่วยเหลือชุมชน ทั้ง 3 ภูมิภาคในประเทศไทย มีผู้ได้รับผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น 12,117 คน ในระยะเวลา 8 เดือน ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2565 จนถึงเดือนมกราคม 2566

  1. ครัวรักษ์อาหารในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 600 คน) จำนวน 3 ครั้ง/เดือน
  2. ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 500 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน
  3. ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 400 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน

ตารางแสดงจำนวนมื้ออาหารที่ช่วยเหลือชุมชน 3 ภูมิภาคตลอดแคมเปญ

รายชื่อครัวรักษ์อาหาร มื้ออาหารรวม
ครัวรักษ์อาหารในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล 5,367
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3,680
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ 3,070
มื้ออาหารรวม 12,117

รวมทั้งสิ้นมูลนิธิ ฯ ได้ส่งต่อมื้ออาหารให้แก่ชุมชนทั้ง 3 ภูมิภาค ทั้งหมด 12,117 มื้อ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้ต่ำที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน

 

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

ครัวรักษ์อาหารในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล

 นางสุนันทา สุนทรสมัย (อุ้ย) แกนนำจัดตั้งครัวรักษ์อาหารบางพลัด
ครัวรักษ์อาหารบางพลัด ร่วมกับมูลนิธิเอสโอเอสมาเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งเเต่สถานการณ์โควิดจนปัจจุบัน เพื่อปรุงอาหารจากวัตถุดิบที่ได้รับจากมูลนิธิ เป็นมื้ออาหาร "1 อิ่ม 1 มื้อ" ให้กับคนในชุมชนผู้มีรายได้น้อย ในเขตบางพลัดจำนวน 22 ชุมชน ประมาณ ทั้งหมด 1,110 ครอบครัว โดยมีทีมเเม่ครัวอาสา 8 คน และทีมงานอาสาสมัครช่วยกระกระจายอาหาร รวม 12 คน
ความประทับใจที่ได้ร่วมโครงการ คือ ก่อนทราบจาก พอช. CODI ว่ามูลนิธิ ฯ มีการบริจาคอาหารผักสด และอาหารต่าง ๆ เพื่อที่จะแบ่งเบาภาระ ช่วยเหลือชาวบ้านผู้ยากไร้ พอได้เข้าร่วม ก็รู้สึกว่า ช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ช่วยเหลือ คนมีรายได้น้อย แล้วทำให้รู้สึกว่าอาหารที่ได้รับมีคุณค่ากับคนในชุมชน บางครั้งอาหารที่ได้มา บางคนไม่เคยกิน เพราะปกติมีรายได้ไม่เพียงพอ ที่จะซื้อกินอยู่แล้ว คุณภาพชีวิตที่ไม่ค่อยจะดีอยู่แล้ว มีอาหารดีๆกิน ในช่วงโควิดเป็นภาวะที่ลำบากมาก การจัดการในชุมชนก็ลำบาก พอได้อาหารที่ได้รับก็ได้แบ่งปันให้กับผู้มีรายได้น้อย บ้านเช่า ชุมชนแออัด คนไร้บ้าน กลุ่มเปราะบาง ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงอาหารจากครัวรักษ์อาหารบางพลัด อาหารช่วยเติมใจให้เขาอิ่มหนึ่งมื้อ แต่ละมื้อคือความสุขของคนที่ได้รับ เวลาที่ไปแจกเขากินตรงนั้นเลย สุดยอดของความอร่อย รอยยิ้มคือรางวัลที่มีค่าที่สุด ที่เป็นแรงผลักดันให้ไม่หยุดในการทำครัวรักษ์อาหาร

ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 นายบรรลือศักดิ์ สงกา (ป๋อม) ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลบึงนคร
อาหาร ที่ทางมูลนิธิ SOS หัวหิน มาส่งให้ ซึ่งเป็นอาหารที่มาจากห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ ได้ช่วยเหลือในการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนตำบลบึงนคร ได้แก่ ผู้ที่มีรายได้น้อย กลุ่มคนในตำบลที่ตกงาน และได้รับผลกระทบระยะยาวจากโรคระบาด กลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงผู้ที่มีรายได้ต่ำเนื่องจากมีอาชีพรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ เด็กนักเรียน รวมถึงผู้ปกครองของเด็กนักเรียนในพื้นที่ด้วย
นอกจากนี้ ในการรับการสนับสนุนในโครงการครัวรักษ์อาหาร ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบึงนคร สามารถนำวัตถุดิบมาประกอบอาหาร นอกจากจะสามารถช่วยลดภาระและความกังวลในการจัดการค่าใช้จ่ายแล้ว วัตถุดิบที่ได้รับบริจาคนั้นยังมีคุณภาพดี ทำให้ชุมชนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และคุณภาพดีเช่นกันอีกด้วย

ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่

 นางสุกัญญา เพลาแก้ว (อ้อย) แพทย์ประจำ โรงพยาบาลประจำตำบลบ้านเจ็ดยอด อำเภอเมือง เชียงใหม่
ความรู้สึกก่อนร่วมโครงการ ตอนที่ผู้ประสานติดต่อเข้ามา (คุณเอิร์ธ) ก็คิดว่าเป็นโครงการที่ดีที่จะนำอาหารมามอบให้ชุมชน แต่ก็ยังไม่เห็นภาพว่าจะเป็นแบบไหน แต่พอหลังจากร่วมโครงการรู้สึกดีใจที่ SOS (คุณบอมบ์และทีมเชียงใหม่) ได้นำอาหารมามอบให้ชุมชน ขอบคุณมาก ๆ ที่ทำให้คนในชุมชนได้รับอาหารดีๆ มีขนมทาน ได้ทานผักผลไม้ดี ถึงจะเป็นอาหารที่รอจำหน่ายออก แต่ก็เป็นอาหารที่สามารถทานได้ และยังเป็นอาหารที่หลาย ๆ คน รอคอย ขอบคุณ SOS ที่นำสิ่งดี ๆ มามอบให้คนในชุมชน สิ่งที่ได้รับมากกว่าอาหารคือ เราได้กัลยาณมิตร

 

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ อธิบาย จำนวนที่ได้ประโยชน์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
กลุ่มคนเปราะบาง กลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้ต่ำที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ใน 3 ภูมิภาค ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพ ฯ และปริมณฑล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดเชียงใหม่ 12,117 ช่วยเหลือชุมชนรายได้น้อย ชุมชนที่ตกงานหรือชุมชนที่สูญเสียงานประจำ โดยเป็นส่วนหนึ่งในการลดรายจ่ายค่าอาหาร และช่วยเหลือชุมชนที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารสดที่มีคุณภาพดีได้ โดยการส่งอาหารปรุงสุกใหม่ผ่านโครงการของครัวรักษ์อาหารในช่วงเศรษฐกิจซบเซาในขณะนี้