⚠️ เทใจเวอร์ชั่นทดลอง(Cache at: 2024-11-13T00:59:48.490Z)
logo

นายบัญชา ผิวผัน

แม่ฮ่องสอน
เข้าร่วมกับเทใจ2567

โครงการที่เปิดรับบริจาค

ยังไม่เปิดโครงการ

เกี่ยวกับองค์กร

นายบัญชา ผิวผัน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 โรงเรียนบ้านห้วยโป่ง ตั้งอยู่เลขที่ 21/1 หมู่ที่ 1 บ้านห้วยโป่ง ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58000 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านห้วยโป่ง มีข้าราชการทั้งหมด 4 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน มีนักเรียนทั้งหมด 34 คน การบริหารงานโดยใช้หลัก "ความรัก" "ความรู้" "การมีส่วนร่วม" ความรัก ในมุมมองการเป็นผู้บริหารของผมก็เหมือนกับการเลี้ยงลูก ถ้าเรามองนักเรียนเป็นเหมือนลูกของเรา มองครูเป็นเหมือนคนในครอบครัวของเรา ไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะไม่รัก เราเองก็อยากให้ลูกของเราได้รับสิ่งที่ดีที่สุด จึงเป็นเหตุผลให้ผมมองความรักมาเป็นอันดับที่ 1 ความรู้ เมื่อเรามองนักเรียนเปรียบเสมือนลูก ครูเองก็เหมือนพ่อแม่ เราก็จะถ่ายทอดความรู้ออกมาด้วยความรัก เหมือนเรากำลังดูแลลูกของเรา เอาใจใส่อย่างใกล้ชิด นักเรียนไม่เข้าใจในส่วนไหนหรือมีปัญหาอะไร ปัญหาอาจจะรวมไปถึงเรื่องส่วนตัวอาจจะเป็นปัญหาจากทางบ้าน เราก็ต้องให้คำแนะนำคำปรึกษา นักเรียนก็จะรู้สึกอบอุ่น สบายใจ เหมือนกับเราเป็นพ่อแม่ของเขาจริง ๆ การมีส่วนร่วม การที่เราให้ความสำคัญกับคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา คนเหล่านี้จะมาช่วยเติมเต็มในส่วนที่เรายังขาดหาย ยังไม่สมบูรณ์ เช่น การจัดกิจกรรมกีฬาสีของโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ก็สามารถที่จะช่วยสนับสนุนงบประมาณ หรือของรางวัลให้กับนักเรียนได้ หรือแม้กระทั่งในเรื่องของการขอความร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียนจากผู้ปกครอง ชุมชน การปรับปรุงภูมิทัศน์ ตัดหญ้า ตัดกิ่งไม้ งานซ่อมแซมอาคารเรียน การที่โรงเรียนของเรามีความรักก็จะส่งผลให้นักเรียน ครู ชุมชน มีความสามัคคี ทุกคนมีความสุข     กระผมเข้ารับราชการครู ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 นับจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 10 ปี ในการรับราชการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยโป่ง การทำงานส่วนใหญ่เป็นงานที่เกี่ยวกับโรงเรียน นักเรียน ชุมชน จากประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมาได้ร่วมกันทางองค์กรทั้งรัฐและเอกชนในการพัฒนาโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอาคารเรียน การสร้างโรงอาหาร การสร้างเสาธง รวมไปถึงการมอบเครื่องนุ่งห่มเสื้อกันหนาวให้กับเด็ก ๆ นักเรียน ที่อยู่บนดอย และยังได้ร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาโรงเรียน วัด โบสถ์ ในชุมชนต่าง ๆ ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน จากการที่ได้เข้าไปช่วยเหลือโรงเรียนต่างๆ รวมไปถึงชุมชน ก็ได้ทราบถึงปัญหาความขาดแคลนในหลาย ๆ ด้าน เช่น ปัญหาเรื่องการเดินทาง ปัญหาเรื่องไฟฟ้า ปัญหาเรื่องน้ำขาดแคลน ปัญหาเรื่องการติดต่อสื่อสาร รวมไปถึงปัญหาในเรื่องของอาชีพของคนในชุมชน จากปัญหาข้างต้นที่กล่าวมาตัวกระผมเองอยากมีส่วนในการช่วยเหลือสังคม อยากจะเป็นกระบอกเสียงแทนนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน ต่าง ๆ พื้นที่แม่ฮ่องสอนของเรายังต้องการความช่วยเหลือในหลาย ๆ ด้าน จากทางองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน รวมไปถึงผู้ใหญ่ใจดีทุกท่านที่ต้องการจะช่วยเหลือคนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนของเราให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นต่อไปในอนาคตคำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์ ว ๑๑๒๐๒ คอมพิวเตอร์ ๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เวลา ๔๐ ชั่วโมง  รู้หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์การใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น รู้วิธีการใช้เมาส์และแป้นพิมพ์วินโดว์ รู้วิธีการการใช้งานโปรแกรม Paint เบื้องต้น วาดภาพตามที่กำหนดและสร้างภาพตามจินตนาการได้ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา การ Coding การฝึกปฏิบัติ และการแสวงหาความรู้ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ปฏิบัติได้ มีความคิดสร้างสรรค์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ได้ เห็นคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศ เลือกใช้และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม สามารถแก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้การเปรียบเทียบ การลองผิดลองถูก การค้นหาอย่างเป็นระบบ ได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อให้เกิดคุณลักษณะการเห็นคุณคำของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์นชีวิตประจำวัน เห็นคุณคำของเทคโนโลยีสารสนเทศ รู้จักใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการทำงานและใช้ประโยชน์เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม มีความมุ่งมั่น กระตือรือร้น มีความสุขในการเรียนรู้ การทำงาน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนการสอนปรับให้สอดคล้องกับยุคศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์แอพพลิเคชั่น LINE, YouTube, Facebook, Google Classroom, Google Docs, Google Drive มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงานเพื่อพัฒนากระบวนการทำงานให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ว๔.๒ ป.๙/๔ ว๔.๒ ป.ด/๕ รวมทั้งหมด ๒ ตัวขี้วัด เวลา ๔๐ ชั่วโมง คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์ ว ๑๒๒๐๒ คอมพิวเตอร์ ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เวลา ๔๐ ชั่วโมง  ฝึกทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในงานพิมพ์ การพิมพ์อักษรไทย การเปลี่ยนรูปแบบ สี ขนาดอักษร การลบ การคัดลอก และการจัดเก็บงาน การพิมพ์งานง่าย ๆ ความหมายและความสำคัญของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในโปรแกรม Paint การใช้งานโปรแกรม Paint พัฒนารูปแบบงานวาด การออกแบบงานและการนำเสนอผลงานด้วยโปรแกรม Paint ผู้เรียนเขียนโปรแกรมอย่างง่ายแบบบล็อก โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา การสังเกต การฝึกปฏิบัติ และการแสวงหาความรู้ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ปฏิบัติได้ และสามารถแก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้การเปรียบเทียบ การลองผิดลองถูก การคันหาอย่างเป็นระบบ ได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา การ Coding ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนการสอนปรับให้สอดคล้องกับยุคศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์แอพพลิเคชั่นLINE, YouTube, Facebook, Google Classroom, Google Docs, Google Drive มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงานเพื่อพัฒนากระบวนการทำงานให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ว ๔.๒ ป.๒/๒ ว ๔.๒ ป.๒/๓ ว ๔.๒ ป.๒/๔ รวมทั้งหมด ๓ ตัวชี้วัด คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์ ว ๑๓๒๐๒ คอมพิวเตอร์ ๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เวลา ๔๐ ชั่วโมง  ฝึกปฏิบัติการใช้งานโปรแกรม Microsoft word โดยการเรียกใช้งาน และการใช้โปรแกรมMicro soft word พิมพ์เอกสาร เรียนรู้หลักการใช้โปรแกรมพิมพ์อักษรแบบสัมผัส ฝึกปฏิบัติการพิมพ์แบบสัมผัสอักษร การใช้โปรแกรม Paint ออกแบบงาน หรือชิ้นงาน การพัฒนารูปแบบงานวาด อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น เกี่ยวกับความหมายและประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต และการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ เขียนโปรแกรมการเคลื่อนที่ของวัตถุพร้อมทั้งตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา การสังเกต การฝึกปฏิบัติ และการแสวงหาความรู้ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ปฏิบัติสิ่งที่เรียนรู้ได้ มีความคิดสร้างสรรค์ และสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีสามารถแก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้การเปรียบเทียบ การลองผิดลองถูก การค้นหาอย่างเป็นระบบ ได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน โดยโดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา การ Coding ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนการสอนปรับให้สอดคล้องกับยุคศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์แอพพลิเคชั่น LINE, YouTube, Facebook, Google Classroom, Google Docs, Google Drive มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงานเพื่อพัฒนากระบวนการทำงานให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ว ๔.๒ ป.๓/๒ ว ๔.๒ ป.๓/๓ ว ๔.๒ ป.๓/๔ ว ๔.๒ ป.๓/๕ รวมทั้งหมด ๔ ตัวชี้วัด คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์ ว ๑๔๒๐๒ คอมพิวเตอร์ ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เวลา ๘๐ ชั่วโมง  สร้างงานที่เป็นข้อความ รูปภาพ กราฟ และลักษณะงานอื่น ๆ ที่ต้องการนำเสนอด้วยโปรแกรมเพื่อให้น่าสนใจในการนำเสนอ ฝึกทักษะการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint เกี่ยวกับการจัดการภาพ เช่น ภาพนิ่ง การ์ด โปสเตอร์ ปกรายงาน แฟ้มข้อมูลส่วนตัวฯลฯ สร้างเอกสารโดยใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint เช่น การออกแบบปกรายงาน การทำแฟ้มข้อมูลส่วนตัว การทำแฟ้มภาพ การทำรายงาน การสร้างสรรค์ผลงานโดยการประยุกต์ใช้ภาพ ข้อความ และ ทักษะการสร้างงานนำเสนอ เช่น การทำรายงาน การทำแฟ้มข้อมูลส่วนตัว มีจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์มองเห็นวิธีการที่หลากหลายโดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา การ Coding ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนการสอนปรับให้สอดคล้องกับยุคศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบันอาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์แอพพลิเคชั่น LINE, YouTube, Facebook, Google Classroom, Google Docs, Google Drive มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงานเพื่อพัฒนากระบวนการทำงานให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ว ๔.๒ ป.๔/๔ รวมทั้งหมด ๑ ตัวชี้วัด คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์ ว ๑๕๒๐๒ คอมพิวเตอร์ ๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เวลา ๘๐ ชั่วโมง  ใช้โปรแกรม Microsoft Exce! โปรแกรมประมวลผล การสร้างเอกสารตาราง ประเภทของข้อมูล เทคนิคการคำนวณ และการใช้สูตร การประยุกต์การใช้งน การสืบค้น รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลใกล้ตัว และการอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนสามารถอธิบายสิ่งที่เรียนรู้สร้างสรรค์ผลงานจากสิ่งที่ได้เรียน สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมองเห็นวิธีการที่หลากหลายโดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา การ Coding ส่งเสริมการใช้ทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนการสอนปรับให้สอดคล้องกับยุคศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์แอพพลิเคชั่น LINE,YouTube,P Facebook, Google Classroom, Google Docs,Google Drive มาใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงานเพื่อพัฒนากระบวนการทำงานให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ว ๔.๒ ป.๕/๔ รวมทั้งหมด ๑ ตัวชี้วัด คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์ ว ๑๖๒๐๒ คอมพิวเตอร์ ๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เวลา ๘๐ ชั่วโมง  สร้างเว็บเพจอย่างง่าย การจัดและการตกแต่งข้อความ การแทรกรูปภาพลงในเว็บเพจ การสร้างตาราง การสร้างการเชื่อมโยงในแต่ละหน้าเว็บเพจ เว็บไซต์ การแทรกมัลติมีเดียสื่อ ต่าง ๆ ลงในเว็บเพจ เพื่อตกแต่ง เว็บเพจให้สวยงาม ออกแบบ กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด กระบวนการฝึกปฏิบัติ กระบวนการออกแบบ กระบวนการจัดการ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการคิดวิเคราะห์ มีนิสัยรักการทำงาน รักการค้นคว้า มีความรับผิดชอบ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขมีสมาธิในการทำงานจนสามารถนำทักษะปฏิบัติงานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้มองเห็นวิธีการที่หลากหลายโดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา การ Coding ส่งเสริมการใช้ทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนการสอนปรับให้สอดคล้องกับยุคศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์แอพพลิเคชั่น LINE, YouTube, Facebook, Google Classroom, Google Docs, Google Drive มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงานเพื่อพัฒนากระบวนการทำงานให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ว ๔.๒ ป.๖/๓ รวมทั้งหมด ๑ ตัวขี้วัด แนวทางการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ๑. ต้องวัดและประเมินผลทั้งความรู้และความคิด ความสามารถ ทักษะและกระบวนการ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งโอกาสในการเรียนรู้ของผู้เรียน ๒. วิธีการวัดและประเมินผลต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ ๓. ต้องเก็บข้อมูลที่ได้จากการวัดและประเมินผลตามความเป็นจริง และต้องประเมินผลภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่ ๔. ผลการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องนำไปสู่การแปลผลและข้อสรุปที่สมเหตุสมผล ๕. การวัดและการประเมินผลต้องมีความเที่ยงตรงและเป็นธรรม ทั้งในด้านของวิธีการวัดโอกาสของการประเมิน ๖. การวัดและประเมินผลด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยน่าสนใจและมีความถูกต้อง เที่ยงตรง แปลผลได้ เครื่องมือในการวัดและประเมินผล  เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จะต้องเป็นเครื่องมือที่มุ่งวัดคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดซึ่งสามารถแบ่งพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกได้ ๓ ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ / กระบวนการด้านเจตคติคุณธรรม จริยธรรม สำหรับเครื่องมือวัดพฤติกรรมทั้ง ๓ ด้านนั้น มีรายละเอียด ดังนี้ ๑. เครื่องมือ และวิธีการวัดด้านความรู้ (Knowledge) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจากที่ผู้เรียนผ่านการเรียนรู้ ซึ่งเป็นพฤติกรรมทางสมองและปัญญาของผู้เรียนเกี่ยวกับการดำรงชีวิตและครอบครัว การออกแบบและเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและการอาชีพ อาจแบ่งพฤติกรรมเหล่านี้ออกเป็น 2 ขั้นด้วยกัน คือความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า โดยมีเครื่องมือในการวัดและประเมินผล ดังนี้ ๑.๑ การประเมินชิ้นงาน/ การะงาน เป็นเครื่องมือที่เป็นการวัดว่าผู้เรียนมีความสามารถนำความรู้มาสร้างชิ้นงาน/ภาระงาน หรือผลงาน ซึ่งสามารถใช้วัดพฤติกรรมด้านความรู้ ความจำ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนและงานที่ได้รับมอบหมาย ๑.๒ แบบทดสอบ เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้วัดพฤติกรรมด้านความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน ซึ่งมีทั้งแบบทดสอบอัตนัย และแบบทดสอบแบบปรนัย ที่มีคำตอบแน่นอน โดยเน้นแบบทดสอบออนไลน์ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรกระดาษอีกทั้งมีความสะดวกรวดเร็วและสามารถแปลผลได้ทันที ๑.๓ การประเมินสภาพจริง (Authentic Assessment) เป็นการประเมินจากการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งโดยงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัตินั้น เป็นสถานการณ์จริงใกล้เคียงกับชีวิตจริง (Reallife) ซึ่งเป็นงานที่ซับซ้อน (Complexity และเป็นองค์รวม (Holistic) โดยเป็นสถานการณ์ที่จะต้องใช้ความรู้ความสามารถและขั้นตอนการดำเนินที่หลากหลาย ซึ่งในการวัดและประเมินผลในด้านความรู้โดยใช้การประเมินในสภาพที่แท้จริงนั้นจะทำการวัดได้จากการตรวจสอบแนวคิด และหลักการที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานในแต่ละสถานการณ์ โดยอาจได้ข้อมูลจากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นการสังเกต การซักถาม การสัมภาษณ์ การตรวจผลงานผู้เรียน ๒. เครื่องมือวัดด้านทักษะและกระบวนการ (Procedure Skills) เป็นเครื่องมือทำการวัดและประเมินพฤติกรรมตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่แสดงออกให้เห็นถึงนิสัยในการทำงานหรือกิจกรรมใดๆ อย่างเป็นขั้นตอน การคิดวิเคราะห์วิจารณ์อย่างเป็นระบบ การสร้างทางเลือกที่หลากหลาย การประเมินและเลือกทางเลือก กำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น โดยมีเครื่องมือในการวัดและการประเมินผล ดังนี้ ๒.๑ แบบทดสอบ เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้วัดวัดด้านทักษะและกระบวนการ เช่น การออกแบบการแก้ปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เช่น การออกแบบอัลกอริทึมแก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้ flowchart การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยเขียนอัลกอริทึมอย่างง่าย เป็นต้น ๒.๒ แบบประเมินการปฏิบัติงาน (Performance Assessment แบบประเมินการปฏิบัติงานเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินคุณค่าเกี่ยวกับความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานของผู้เรียน คุณภาพของผลงานและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการปฏิบัติงานของผู้เรียน อันได้ แก่ความสะอาด ความเรียบร้อย ความประหยัด ความมุ่งมั่น และการทำงานร่วมกับผู้อื่น เป็นตัน โดยกิจกรม โครงงาน หรือชิ้นงาน (Task) ที่ผู้เรียนปฏิบัตินั้นเป็นกิจกรรมที่ครูผู้สอนเป็นผู้มอบหมายหรือตกลงร่วมกันกับผู้เรียนโดยอาจเป็นชิ้นงานรายบุคคลรายกลุ่มหรือผสมระหว่างกลุ่มและบุคคลก็ได้ ซึ่งในแบบประเมินการปฏิบัติงานนั้นจะกำหนดรายละเอียดการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอน คุณภาพของผลผลิต ซึ่งในแต่ละผลผลิตจะมีตัวที่บ่งบอกถึงคุณภาพแตกต่างกันไปและรายการพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยให้ครูผู้สอนทำการประเมินการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนของผู้เรียน ผลงานของผู้เรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน โดยในแต่ละรายการจะมีเกณฑ์การประเมิน (Rubic) ที่แตกต่างกัน โดยในการประเมินผลการปฏิบัติงานนั้นอาจจะได้ข้อมูลมาจากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นการสังเกต การชักถาม การสัมภาษณ์ การตรวจผลงานผู้เรียน เป็นต้น ๒.๓ การประเมินสภาพจริง (Authentic Assessment) เป็นการประเมินที่เหมาะสมกับ การวัดประเมินพฤติกรรมในด้านทักษะและกระบวนการ โดยเฉพาะงาน คือ มีการกำหนดรายละเอียดการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอน คุณภาพของผลผลิต ซึ่งในแต่ละผลผลิตจะมีตัวที่บ่งบอกถึงคุณภาพแตกต่างกันไป และรายการพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยให้ครูผู้สอนทำการประเมินการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนของผู้เรียน โดยแต่ละรายการจะมีเกณฑ์ในการประเมิน (Rubric ที่แตกต่างกัน แต่การประเมินตามสภาพจริงอาจมีความยุ่งยากและซับซ้อนกว่าเนื่องจากจะต้องทำการวัดและประเมินพฤติกรรมทั้งในด้านความรู้ทักษะกระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในสถานการณ์เดียวกัน ๓. เครื่องมือวัดด้านเจตคติ คุณธรรม จริยธรรม (Affective) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมตามตัวชี้วัดที่แสดงออกเกี่ยวกับอารมณ์ หรือความรู้สึกที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งสิ่งนั้นอาจเป็นความเชื่อการกระทำ บุคคล วัตถุสิ่งของหรือสถาบัน โดยพฤติกรรมเหล่านี้ได้แก่ ความสนใจ ความรู้สึก ค่านิยม เจตคติและคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เช่น ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ขยัน อดทนประหยัด อดออม เอื้อเฟื้อ เสียสละ มีวินัยในการทำงานการเห็นคุณค่าของงานและอาชีพสุจริต และตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ เป็นต้น ซึ่งในการวัดและประเมินนั้น สามารถวัดและประเมินได้ ตั้งแต่เริ่มต้นกิจกรรมการเรียนรู้จนเสร็จสิ้นกิจกรรมการเรียนโดยมีเครื่องมือในการวัดและประเมินดังนี้ ๓.๑ แบบทดสอบ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์เดิมที่นักเรียนมี่เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม ทัศนคติ เช่น แบบทดสอบเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม แบบทดสอบหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยใช้แบบทดสอบออนไลน์ ซึ่งสามารถวัดผลได้นักเรียนเป็นรายบุคคล และสามารถแปลผลได้ ๓.๒ แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดด้านเจตคติ คุณธรรม จริยธรรม เช่น แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียน แบบสอบถามทัศนคติในการเรียน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งสามารถวัดผลได้นักเรียนเป็นรายบุคคล และแบบองค์รวม อีกทั้งยังสามารถวัดผลโดยได้รับข้อมูลจริง และรักษาข้อมูลส่วนบุคคลการกำหนดเกณฑ์ในการประเมินผล หลังจากที่ผู้สอนทำการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะและกระบวนการ และเจตคติ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ของผู้เรียนแล้ว ครูผู้สอนจะต้องทำการกำหนดเกณฑ์ในการประเมินให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการประเมิน คือ ประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและประเมินเพื่อสรุปหรือตัดสินผลการเรียน และที่สำคัญต้องสอดคล้องกับลักษณะของข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือวัดและประเมินผลด้วย ในที่นี้ขอนำเสนอ แนวทางการกำหนดเกณฑ์การประเมินใน ๒ ลักษณะดังนี้ ๑) เกณฑ์การประเมินเพื่อการพัฒนาผู้เรียน เกณฑ์การประเมินเพื่อการพัฒนาผู้เรียน เป็นเกณฑ์การประเมินที่สามารถชี้ให้เห็นคุณลักษณะ คุณภาพ หรือ สภาพความสำเร็จในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างละเอียดและชัดเจน รวมทั้งชี้ให้เห็นจุดเด่นและจุดด้อยของผู้เรียนและสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ด้วย ซึ่งเกณฑ์การประเมินในลักษณะนี้เหมาะกับการประเมินการปฏิบัติงานการประเมินสภาพที่แท้จริง การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน และมาตรประมาณค่าเป็นต้น โดยทั่วไปแล้วเกณฑ์การประเมินที่นิยม คือ Rubric Assessment โดยมีรายละเอียด ดังนี้  Rubric Assessment หมายถึง แนวทางการให้คะแนน ซึ่งสามารถจะแยกแยะระดับความสำเร็จต่าง ๆ ของความสำเร็จในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานของผู้เรียนได้อย่างชัดเจน จากดีมากไปจนถึงต้องปรับปรุงแก้ไข ซึ่งโดยทั่วไปมีเกณฑ์การประเมิน ๒ ลักษณะดังนี้ ๑. เกณฑ์การประเมินแบบแยกส่วน (Analytic Rubric) เป็นเกณฑ์การให้คะแนนโดยพิจารณาในแต่ละส่วนของงาน โดยมีคำนิยามหรือคำอธิบายลักษณะของงานในส่วนนั้น ๆ ในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน ซึ่งคะแนนที่ให้อาจนำมารวมกันหรือไม่ก็ได้ ๒.เกณฑ์การประเมินแบบภาพรวม (Holistic Rubric) เป็นกณฑ์การให้คะแนนโดยพิจารณาในภาพรวมของงาน โดยมีคำนิยามหรือคำอธิบายลักษณะของงานในแต่ละ ระดับไว้อย่างชัดเจน แต่เกณฑ์การประเมินแบบนี้จะให้สารสนเทศแก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคลน้อยมาก ซึ่งในแต่ละเกณฑ์การประเมินที่ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดนั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ ๑) เกณฑ์ (Citeria) เป็นระดับคะแนนในองค์ประกอบของงานที่ประเมิน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นผลผลิตที่เกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งควรมีอย่างน้อย 1 ระดับคะแนนที่ชี้ถึงมาตรฐานที่คาดหวัง โดยระดับของเกณฑ์การประเมินนั้น อาจกำหนดเป็น ๔ ระดับ หรืออาจกำหนดคะแนนเป็น ๕ ระดับ หรือ ๓ ระดับ ก็ได้ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการการประเมินผลของสถานศึกษา ๒) ระดับการปฏิบัติ (Performance Leve!) เป็นคำที่อธิบายระดับคะแนนในลักษณะของข้อความ เช่น "ดีเลิศ" "ดี" "พอใช้" "ปานกลาง" "ปรับปรุง" เป็นต้น โดยในแต่ละระดับคะแนนจะต้องสัมพันธ์กัน ๓) คำอธิบายคุณภาพ (Quality Descriptor) เป็นข้อความที่ระบุถึงความสำเร็จที่คาดหวังในแต่ละระดับคะแนนหรือระดับการปฏิบัติ ซึ่งจะต้องมีความชัดเจน เที่ยงตรงและใช้ภาษาที่เข้าใจได้ทั้งผู้เรียนและผู้ให้คะแนนได้เข้าใจตรงกัน โดยต้องสามารถอธิบายถึงความแตกต่าง ของแต่ละระดับได้ด้วยโดยการกำหนดเกณฑ์ในการประเมินนั้น ครูผู้สอนและผู้เรียนจะต้องร่วมดำเนินการตามขั้นตอนในการกำหนด ดังนี้ ๑) พิจารณามาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด ๒) พิจารณาเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ตัดสินผลผลิตและผลการปฏิบัติของผู้เรียนซึ่งจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายปี/รายภาค ๓) สร้างกรอบระดับความสามารถ กำหนดระดับชั้นที่มีความสำคัญและระดับรองลงมาของเกณฑ์การประเมิน ๔) อธิบายระดับของความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละระดับ ที่เหมาะสมกับแต่ละเกณฑ์เลือกคำหรือวลีที่บอกถึงความแตกต่างระหว่างระดับความสามารถ ๕) ทดสอบเกณฑ์การประเมินกับผู้เรียน ว่าผู้เรียนสามารถเข้าใจได้หรือไม่ ๖) บันทึกจุดแข็งและจุดอ่อนของเกณฑ์การประเมินจากการนำไปใช้ประเมินงานของผู้เรียน ปรับปรุงเกณฑ์การประเมิน ๒) เกณฑ์การประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน เกณฑ์การประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน เป็นเกณฑ์การประเมินที่ชี้บอกว่าผู้เรียนมีคุณลักษณะ คุณภาพ หรือสภาพความสำเร็จในการเรียนรู้ขั้นต่ำสุดที่ยอมรับได้หรือไม่ และขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และสถานศึกษาเป็นผู้กำหนด ในการตัดสินผลการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นผู้สอนต้องคำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนเป็นหลัก และต้องเก็บข้อมูลของผู้เรียนทุกด้านอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในแต่ละภาคเรียน รวมทั้งสอนซ่อมเสริมผู้เรียนให้พัฒนาจนเต็มตามศักยภาพ การพัฒนาสื่อและแหล่งการเรียนรู้ ผู้เรียนมีโอกาส มีอิสระในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ สร้างทักษะด้วยตนเอง ครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็น ผู้ให้คำแนะนำ นอกจากนี้ทั้งครูและศิษย์สามารถเรียนรู้ไปพร้อมกันได้ การจัดการเรียนที่โรงเรียนดำเนินการได้ในขณะนี้ ๑. การสอนโดยใช้สื่อสารสนเทศให้เกิดการเรียนรู้ตามความสนใจ เช่น บทเรียนออนไลน์ , Google Classroom , เว็ปไซต์ , Youube และสื่ออื่น ๆ ที่สามารถบูรณาการเข้ากับการเรียนรู้ได้ ๒. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาการคำนวณ การเขียนโปรแกรม โดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การเขียนโปรแกรมแบบบล็อค เช่น Code.org , makecode.microbit.org , scratch เป็นต้น ๓. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆที่พัฒนาความสามารถผู้เรียนให้มีทักษะศตวรรษที่ ๒๑ และความสามารถเพื่อการมีงานทำ เช่น โปรแกรมเขียนเว็ปไซต์ โปรแกรมตัดต่อรูปภาพ โปรแกรมตัดต่อวิดีโอและคลิป และความสามรถในการใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน เช่น การรับ-ส่ง อีเมล์ , การจัดการไฟล์เอกสารต่าง ๆ โปรแกรมสำนักงานอัตโนมัติที่ใช้ในสำนักงาน เป็นต้น ๔. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนรู้ เช่น การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศโดยใช้ Google Form เช่น ข้อมูลคะแนน ข้อมูลการสอบ และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ๕. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดระบบและเผยแพร่ความรู้ เช่น ใช้ช่องทางการติดต่อสื่อโซเซียล เช่น เว็ปไซต์ เพจเฟซบุ๊ก โอเพ็นแชท กลุ่มไลน์ เป็นต้น ๖. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน และภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น เช่น เว็ปไซต์โรงเรียน เพจเฟซบุ๊กโรงเรียน เพจรายวิชาต่าง ๆ ที่สามารถแชร์ข้อมูลข่าวสารแลกเปลี่ยนจากแหล่งอื่นได้ ๗. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน เช่น Google site , Google Classroom เป็นต้น

กลุ่มเป้าหมาย

เด็กและเยาวชน

โครงการทั้งหมด (1)