ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (รีคอฟ) ที่ผ่านมามีผลงานสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ อะไรบ้าง อธิบายo รีคอฟก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2530 โดยมีพันธกิจขององค์กรคือ ประชาชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเท่าเทียมกันและยั่งยืน ควบคู่ไปกับความเจริญของป่าไม้และภูมิทัศน์ที่มีสุขภาพดีและสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ โดยความร่วมมือขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ (ผ่านธนาคารพัฒนาเอเชีย) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย รีคอฟทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางรอบภูมิภาคซึ่งให้บริการด้านการฝึกอบรมและงานวิจัยด้านวนศาสตร์ชุมชน ซึ่งนำโดย ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์ ซึ่งเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังจากการก่อตั้ง 13 ปี รีคอฟได้รับการยอมรับเป็นองค์กรอิสระในระดับนานาชาติ และหลังจากนั้นอีก 10 ปี รีคอฟได้ขยายไปสู่ประเทศอื่นๆในภูมิภาคเพิ่มขึ้น เช่น กัมพูชา อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมาร์ เนปาล ไทย และเวียดนาม o สำหรับรีคอฟในประเทศไทยในปัจจุบันมีแนวทางการทำงานที่สำคัญคือ การทำให้เกิดการจัดการภูมิทัศน์ที่สามารถช่วยบรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีพื้นที่ทำงานหลักอยู่ที่จังหวัดน่าน ซึ่งมีการดำเนินโครงการการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้ด้วยการส่งเสริมการเชื่อมกับตลาดและผู้ประกอบการ นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมเรื่องธรรมาภิบาลป่าไม้ ด้วยการสร้างให้เกิดกลไกในกาติดตามการบริหารจัดการป่า และการพัฒนาศักยภาพในการจัดการป่าชุมชน
-